วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

9.3 การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์

การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง Windows ใหม่
การ ฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ จะเป็นขั้นตอนที่ต้องทำต่อจาก การจัดการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ หรืออาจจะใช้เมื่อต้องการ ลบข้อมูลทุก ๆ อย่าง ที่มีอยู่ในฮาร์ดดิสก์ออกทั้งหมด เช่น ทำการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ เพื่อจะทำการลง Windows ใหม่ เป็นต้น
หลังจากที่ทำการจัดแบ่งพาร์ติชัน โดยการทำ FDISK เสร็จแล้ว เราจะยังไม่สามารถใช้งาน Hard Disk นั้นได้ในทันที โดยจะต้องทำการ ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ก่อน ซึ่งก็จะมีวิธีการง่าย ๆ คือใช้คำสั่ง format ที่อยู่ในแผ่น Windows 98 Startup Disk ก่อนอื่นมาดู คำสั่ง ในแบบต่าง ๆ ที่นิยมใช้กันก่อน
  • format c: แบบไม่มีอะไรต่อท้าย คือการ format drive c: แบบมาตราฐานทั่วไป
  • format c: /s คือการ format drive c: โดยจะทำระบบ system file ให้สามารถใช้บูทเครื่องได้ด้วย
  • format c: /q คือการ format drive c: แบบรวดเร็ว จะใช้ได้กับ Hard Disk ที่ format แล้วเท่านั้น
  • format c: /c คือการ format drive c: โดยทำการตรวจสอบ bad sector ของฮาร์ดดิสก์ ด้วย
  • format c: /u คือการ format drive c: โดยแบบนี้ จะไม่สามารถทำการ unformat เพื่อกู้ข้อมูลคืนมาได้
รูปแบบของคำสั่ง พอจะแบ่งออกได้คร่าว ๆ คือ
  • format คือการเรียกคำสั่ง format นี้เพื่อเริ่มต้นใช้งาน
  • c: หมายถึงชื่อของ drive ที่ต้องการทำการ format โดยที่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะมีได้หลาย drive เช่น c: d: e: หรือ f: ก็ได้ แล้วแต่ว่า จะมีการแบ่งพาร์ติชันไว้อย่างไร ตรงนี้ต้องระวัง ใส่ให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้น อาจจะทำให้ข้อมูลต่าง ๆ หายไปหมดได้
  • /s หรือ /q หรือ /c หรือ /u เป็นการกำหนดการทำงานของการ format เพิ่มเติมจากปกติ ตามรายละเอียดด้านบน โดยอาจจะใส่หรือไม่ต้องใส่ก็ได้
ทั้งนี้การใช้คำสั่งฟอร์แมต แบบต่าง ๆ อาจจะใช้ร่วมกันก็ได้เช่น format c: /s/q คือสั่งฟอร์แมตแบบรวดเร็ว และทำการสร้าง system file เพื่อให้สามารถใช้บูทเครื่องได้ด้วย เป็นต้น
วิธีการสั่งฟอร์แม็ตฮาร์ดดิสค์ เริ่มจากการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจจะใช้การบูทจากแผ่น Windows Startup Disk แล้วเลือกที่ข้อ 1. จากเมนู หรือจะบูตเครื่องจากฮาร์ดดิสก์ และสั่ง Shutdown โดยเลือกเข้าที่ DOS Mode ก็ได้ จากนั้น พิมพ์คำสั่ง format ตามด้วยค่าพารามิเตอร์ด้านบน และกด ENTER ครับ
มาดูตัวอย่างและหน้าตาของการทำฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ตามรูปต่อไป โดยรูปตัวอย่างต่อไปนี้ จะเป็นการบูทเครื่องจากแผ่น Windows Startup Disk และเลือกเข้ามาที่ DOS Prompt เข้ามาที่เมนูแรกหรือจะขึ้นเครื่องหมาย A:\> ก่อน จากนั้นพิมพ์คำสั่ง format c: /s (เป็นการสั่งฟอร์แม็ตโดยจะใส่ system file เพื่อให้ใช้บูทเครื่องได้ด้วย)


จากรูป เป็นการสั่ง format c: /s เพื่อทำการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ โดยกำหนดให้ทำการสร้าง system file ด้วยเพื่อให้ฮาร์ดดิสก์นี้ ใช้ทำการบูทเครื่องได้ หลังจากสั่งฟอร์แมตแล้ว จะมีการถามเพื่อยืนยันการฟอร์แมตอีกครั้ง กด y และกด Enter เพื่อเริ่มต้นการฟอร์แมต รอสักพักอาจจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับขนาดและความเร็วของฮาร์ดดิสก์ รอจนเสร็จจะมีเมนูให้ใส่ชื่อ Volume Label ก็ใส่ชื่อตามต้องการ


หลังจากนั้น จะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เท่านี้เป็นอันเสร็จขั้นตอนการฟอร์แมต สามารถนำเอาฮาร์ดดิสก์นี้ไปใช้งานได้ทันที ในกรณีที่ได้ทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นหลาย ๆ ไดร์ฟ ก็ต้องทำการฟอร์แมตทุก ๆ ไดร์ฟ จนครบตามต้องการด้วย

แหล่งที่มา : http://www.com-th.net/

9.2 การสร้างพาร์ติชั่นในฮาร์ดดิสก์โดยไม่ใช้โปรแกรม

ปกติ แล้ว Windows XP จะมีเครื่องมือเครื่องไม้ที่จำเป็นต่อการจัดการระบบมาให้อยู่แล้วตามสมควร  ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่มีลูกเล่นมากมายเท่ากับที่โปรแกรมอื่นๆที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อทำงานอย่างหนึ่งอย่างโดยเฉพาะ  แต่ก็ถือว่าเครื่องมือที่ Windows XP ให้มานั้นก็มีความน่าสนใจและน่าใช้งานไม่น้อยเลยทีเดียว

สำหรับคน ที่นิยมจะจัดการ Harddisk ของตัวเองอยู่บ่อยๆ  อาจจะรู้จักโปรแกรม Partition Magic เป็นอย่างดี  แต่คุณรู้หรือไม่ว่า  ถึงคุณจะไม่มีโปรแกรม Partition Magic  คุณก็สามารถจัดการกับ Harddisk ของคุณได้

เข้าไปตามภาพครับ



เข้าไปที่ Administrative Tool ครับ



เข้าไปที่ Computer Management



ก็ จะเข้ามาดังภาพนะครับ  ให้ทำการคลิกที่ 1 และ 2 ตามลำดับครับ  กรอบทางขวาก็จะปรากฏขึ้นมาครับ  โดยในส่วนที่ผมกรอบแดงๆไว้นั้น  จะบอกรายละเอียดของ Haddisk ของเราครับ  ว่ามีกี่ Partition  ชื่ออะไรบ้าง  ขนาดเท่าไร่  เป็น System แบบไหน  เรียกว่าบอกหมดพุงเลยครับ



คราว นี้เราจะเริ่มมาจัดการกับ Harddisk กันครับ  ในที่นี้เราสนใจจะจัดการกับไดรว์ E ที่ชื่อว่า BACKUP1  ก็ให้เราคลิกขวาที่ไดรว์ที่เราสนใจในกรอบด้านบนนะครับ  แล้วจะมีไดอะล็อคขึ้นมาดังภาพครับ  โดยบอกว่าเราสามารถจะกระทำการใดๆกับ Partition นี้ได้มั่ง  ในที่นี้ผมขอเลือกที่จะลบมันนะครับ  ก็เลือกดังภาพเลยครับ  ตรงนี้ให้เราสังเกตว่า  หากเราเลือกจะกระทำการที่ Partition ไหน  ก็จะมีเส้นเทาๆขึ้นที่กรอบด้านล่างด้วย  สอดคล้องกันครับ



เมื่อเราเลือกที่จะลบ  ก็จะมีเจ้านี่ขึ้นมาเตือนครับว่า "ข้อมูลในนี้จะหายไปหมดนะจะบอกให้"  เราก็ Yes ไปครับ



คราว นี้จะเห็นว่าไดรว์เราหายไปทันที 1 ไดรว์  ส่วนตำแหน่งที่ไดรว์เราเคยอยู่  ก็จะกลายเป็นสีเขียวๆไปครับ  และบอกว่าอยู่ในสถานะที่ Free Space  หมายถึงหัวใจยังว่างครับ

คราวนี้เราจะมาจัดการกับมันอีกที  โดยเราจะแบ่งมันออกเป็น 2 ส่วนครับ  โดยในขั้นแรกให้เราคลิกขวาในไดร์ว่างๆในกรอบด้านล่าง นั้นครับ  แล้วเลือก New Logical Drive ครับ



ก็จะเข้าสู่ Wizard  ง่ายดีครับ



ก็บอกว่าเรากำลังจะสร้าง Logical Drive นะตัวเอง  ฮุฮุฮุ



มา ถึงตรงนี้  ตรงลูกศรนั้นจะบอกขนาดทั้งหมดบน Partition นั้นๆที่มีอยู่  เราสามารถเลือกปรับให้ได้ขนาดที่เราต้องการได้ในวงกลมนะครับ  ในที่นี้ผมเอาแค่ 1 GB ครับ  แล้วก็ Next ซะครับ



ตรงนี้เราสามารถเลือกชื่อ Label ที่เราต้องการได้ครับ  โดยเลือกจากที่มีในกรอบที่ผมวงไว้ครับ



มาถึงตรงนี้  เราต้องกำหนดคุณสมบัติของไดรว์ที่เราจะสร้างขึ้นมาใหม่ครับ  โดย
1. เลือกระบบเป็นแบบ NTFS หรือ FAT32 ตามแต่ต้องการครับ  ในที่นี้  ผมเลือก FAT32 ครับ
2. ตั้งชื่อ Partition ตามที่เราต้องการครับ  ในที่นี้ผมตั้งว่า DATA2 ครับ
3. เลือกเป็น Quick Format จะได้เร็วครับ
4. กด NEXT



การกำหนดคุณลักษณะเสร็จสิ้น  ระบบจะบอกว่าเราได้กำหนดอะไรไว้มั่งครับ  อ่านพอใจแล้ว Finish



ตอน นี้เราได้ Partition ใหม่ขึ้นมา 1 Partition แล้วครับ  แต่เนื่องจากว่า  ตอนที่เรากำหนดขนาดนั้น  เราไม่ได้กำหนดทั้งหมด  จึงยังมีเนื้อที่เหลืออยู่จำนวนนึง  ในส่วนที่เป็นที่ว่างมันก็จะกลายเป็นสีเขียวครับ

คราวนี้เราจะมา จัดการกับเนื้อที่ๆเหลือครับ  โดยคลิกขวาที่บริเวณรูปเนื้อที่ๆเหลือเขียวๆนั้นครับ  แล้วเลือกดังภาพ  จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนเดิมทั้งหมดครับ  เราก็ทำแบบคล้ายๆแบบเดิมไปครับ  ไม่ยากอะไรแล้วครับ



ตอนนี้เราก็สามารถแบ่งเจ้า Partition เดิมออกมาเป็น 2 Partitions ได้แล้วครับ  โดยไม่ต้องพึ่งเจ้าโปรแกรม Partition Magic เลยสักนิด



หรือ หากว่าเราต้องการต้องการที่ Format ไดรว์ไหนๆ  เราก็แค่คลิกขวาที่ชื่อไดรว์นั้นๆในกรอบด้านบน  แล้วเลือก Format ครับ  มันก็จะขึ้นไดอะล็อคขึ้นมาดังภาพครับ  เราก็สามารถตั้งชื่อไดรว์เราได้ใหม่  หรือ Format ไปเป็นระบบอื่นได้ครับ  ส่วนลูกศรตัวล่างนั้น  เอาไว้ Quick Format ครับ  จะได้ไวๆ  แล้วก็ทำตามขั้นตอนไปครับ



มาดูที่ My Computer  ก็จะเห็นว่ามีไดรว์เพิ่มขึ้นจริงๆ  แถมระหว่างที่ทำ  เราไม่ต้องรีสตาร์ทเครื่องด้วย  เสร็จแล้วใช้ได้เลย



อัน นี้สำหรับบางคนที่รู้สึกว่า  เมื่อสร้าง Partition ใหม่ขึ้นมาแล้ว  มันได้ Label ที่ดูเป็นอัปมงคลไปหน่อย  แล้วต้องการที่เปลี่ยนมัน  ก็สามารถแก้ได้โดย



คลิ๊กขวาตรงบริเวณส่วนของไดรว์ที่ต้องการแก้ชื่อในกรอบด้านล่าง  แล้วเลือกตามภาพ



จากนั้นเลือก Change  และเลือก Label ที่ดูเป็นมงคลกว่าอันเดิมครับ  แล้ว OK ครับ



มัน จะเตือนอย่างนี้  บอกว่าการเปลี่ยนชื่อเราอาจจะทำให้ Shortcuts ต่างๆไม่สามารถอ้างอิงตำแน่งที่โปรแกรมอยู่ได้  และอาจส่งผลให้บางโปรแกรมไม่สามารถรันได้  ก็ไม่เป็นไรครับ  เราค่อยมาลบ Shortcuts อันเก่าทิ้ง  แล้วสร้าง Shortcuts อันใหม่มาแทนก็หายแล้วครับ  ตอนนี้ก็ Yes ไปครับ



อันนี้  ผลที่ได้ครับ



มาดูที่ My Computer  ก็พบว่าเริ่มเป็นมงคลกับชีวิตขึ้นมาหน่อยแล้ว  จบละครับ

 


ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.justusers.net/articles/ossystem/partition/partition.htm

9.1 การจัดเตรียมฮาร์ดดิสก์

การจัดเตรียมฮาร์ดดิสก์

การเตรียมความพร้อมของฮาร์ดดิสก์นั้น โดยหลักแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. การแบ่งหรือการจัดสรรพาร์ติชั่น
2. การจัดเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างระบบไฟล์หรือการฟอร์แมต
โดยหลักจากการฮาร์ดดิสก์ได้ผ่านขั้นตอนทั้งสองนี้แล้วก็สามารถนำไปติดตั้ง
ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมถึงนำไปจัดเก็บข้อมูลได้ในทันที
พาร์ติชั่น (Partition) คือ เนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์ที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบทั่วเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างระบบ ไฟล์หรือที่เรียกว่าการฟอร์แมตระดับสูงในพื้นที่แต่แต่ละส่วนให้เป็นอิสระ จากกันได้
ประเภทของพาร์ติชั่นที่จะใช้แบ่งมีอยู่ 2 ประเภท 

1. Primary Partition เป็นพาร์ติชั่นหลักที่ใช้สำหรับติดตั้งและบู๊ตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ ซึ่งโดยมากมักจะหมายถึงไดรว์ C หรือไดรว์ที่มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการเอาไว้ โดยในฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งๆจะมีพาร์ติชั่นประเภท Primary ได้สูงสุงเพียงไม่เกิน 3 พาร์ติชั่นเท่านั้น โดยพาร์ติชั่นที่ใช้บู๊ตเข้าระบบปฏิบัติการจะต้องถูกกำหนดให้อยู่ในสถานะ Active

2. Extended Partition เป็นพาร์ติชั่นเสริมหรือส่วนขยายเพิ่มเติมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ข้อจำกัดเดิมๆของพาร์ติชั่นประเภท Primary ที่ในฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งๆจะสามารถมีได้สูงสุดไม่เกิน 4 พาร์ติชั่น


ข้อดี และข้อเสียของการแบ่งพาร์ติชั่น

ข้อดี
1. ช่วยให้เราสามารถสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ยังพาร์ติชั่นอื่นได้ เผื่อว่าเวลาระบบ Windows มีปัญหาหนักจนถึงขั้นต้องฟอร์แมตพาร์ติชั่นที่ Windowsไว้แล้วลงใหม่ก็จะได้ไม่มี ผลกระทบใดๆหรือไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลในพาร์ติชั่นอื่นจะสูญหายไป

2. เพื่อความสะดวกและเรียบร้อยในการจัดเก็บหรือแยกแยะประเภทของข้อมูลต่างๆให้เป็นสัดเป็นส่วน
3. เพื่อความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลและจำกัดพื้นความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล และจำกัดพื้นที่ในการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆเพื่อดูแลรักษาเครื่อง เช่น การใช้โปรแกรม Antivirus ในการสแกนหาไวรัสในแต่ละพาร์ติชั่นที่สงสัยและการจัดเรียงข้อมูล (Defrag) ทีละพาร์ติชั่นเป็นต้น
4. ช่วยให้เราสามารถติดตั้งหลายๆระบบปฏิบัติการในฮาร์ดดิสก์ลูกเดียว

ข้อเสีย
1. หากกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นไว้เล็กเกินไปอาจทำให้มีปัญหาในกานทำงานร่วมกับ ไฟล์งานของโปรแกรมบางตัวที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไฟล์วิดี เป็นต้น
2. หากแบ่งพาร์ติชั่นไว้จำนวนมากอาจทำให้สับสนได้ง่าย
3. ผู้ใช้ควรศึกษาให้เข้าใจถึงทฤษฎีและหลักการในเบื้องต้นเสียก่อน จึงจะสามารถลงมือแบ่งพาร์ติชั่นไดอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่น ข้อแนะนำในเรื่องของการกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ใช้ระบบไฟล์แบบ FAT32 ว่าไม่ควรมีขนาดเกินกว่า 32 GB (หรือถ้าจะกำหนดให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ก็สามารถทำได้ แต่ขนาดของคลัสเตอร์ก็จะใหญ่ตามขึ้นไปด้วย ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลนั้นลดลง ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงแนะนำให้ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS แทน) เป็นต้น