ปกติ แล้ว Windows XP จะมีเครื่องมือเครื่องไม้ที่จำเป็นต่อการจัดการระบบมาให้อยู่แล้วตามสมควร ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่มีลูกเล่นมากมายเท่ากับที่โปรแกรมอื่นๆที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อทำงานอย่างหนึ่งอย่างโดยเฉพาะ แต่ก็ถือว่าเครื่องมือที่ Windows XP ให้มานั้นก็มีความน่าสนใจและน่าใช้งานไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับคน ที่นิยมจะจัดการ Harddisk ของตัวเองอยู่บ่อยๆ อาจจะรู้จักโปรแกรม Partition Magic เป็นอย่างดี แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ถึงคุณจะไม่มีโปรแกรม Partition Magic คุณก็สามารถจัดการกับ Harddisk ของคุณได้ เข้าไปตามภาพครับ เข้าไปที่ Administrative Tool ครับ เข้าไปที่ Computer Management ก็ จะเข้ามาดังภาพนะครับ ให้ทำการคลิกที่ 1 และ 2 ตามลำดับครับ กรอบทางขวาก็จะปรากฏขึ้นมาครับ โดยในส่วนที่ผมกรอบแดงๆไว้นั้น จะบอกรายละเอียดของ Haddisk ของเราครับ ว่ามีกี่ Partition ชื่ออะไรบ้าง ขนาดเท่าไร่ เป็น System แบบไหน เรียกว่าบอกหมดพุงเลยครับ คราว นี้เราจะเริ่มมาจัดการกับ Harddisk กันครับ ในที่นี้เราสนใจจะจัดการกับไดรว์ E ที่ชื่อว่า BACKUP1 ก็ให้เราคลิกขวาที่ไดรว์ที่เราสนใจในกรอบด้านบนนะครับ แล้วจะมีไดอะล็อคขึ้นมาดังภาพครับ โดยบอกว่าเราสามารถจะกระทำการใดๆกับ Partition นี้ได้มั่ง ในที่นี้ผมขอเลือกที่จะลบมันนะครับ ก็เลือกดังภาพเลยครับ ตรงนี้ให้เราสังเกตว่า หากเราเลือกจะกระทำการที่ Partition ไหน ก็จะมีเส้นเทาๆขึ้นที่กรอบด้านล่างด้วย สอดคล้องกันครับ เมื่อเราเลือกที่จะลบ ก็จะมีเจ้านี่ขึ้นมาเตือนครับว่า "ข้อมูลในนี้จะหายไปหมดนะจะบอกให้" เราก็ Yes ไปครับ คราว นี้จะเห็นว่าไดรว์เราหายไปทันที 1 ไดรว์ ส่วนตำแหน่งที่ไดรว์เราเคยอยู่ ก็จะกลายเป็นสีเขียวๆไปครับ และบอกว่าอยู่ในสถานะที่ Free Space หมายถึงหัวใจยังว่างครับ คราวนี้เราจะมาจัดการกับมันอีกที โดยเราจะแบ่งมันออกเป็น 2 ส่วนครับ โดยในขั้นแรกให้เราคลิกขวาในไดร์ว่างๆในกรอบด้านล่าง นั้นครับ แล้วเลือก New Logical Drive ครับ ก็จะเข้าสู่ Wizard ง่ายดีครับ ก็บอกว่าเรากำลังจะสร้าง Logical Drive นะตัวเอง ฮุฮุฮุ มา ถึงตรงนี้ ตรงลูกศรนั้นจะบอกขนาดทั้งหมดบน Partition นั้นๆที่มีอยู่ เราสามารถเลือกปรับให้ได้ขนาดที่เราต้องการได้ในวงกลมนะครับ ในที่นี้ผมเอาแค่ 1 GB ครับ แล้วก็ Next ซะครับ ตรงนี้เราสามารถเลือกชื่อ Label ที่เราต้องการได้ครับ โดยเลือกจากที่มีในกรอบที่ผมวงไว้ครับ มาถึงตรงนี้ เราต้องกำหนดคุณสมบัติของไดรว์ที่เราจะสร้างขึ้นมาใหม่ครับ โดย 1. เลือกระบบเป็นแบบ NTFS หรือ FAT32 ตามแต่ต้องการครับ ในที่นี้ ผมเลือก FAT32 ครับ 2. ตั้งชื่อ Partition ตามที่เราต้องการครับ ในที่นี้ผมตั้งว่า DATA2 ครับ 3. เลือกเป็น Quick Format จะได้เร็วครับ 4. กด NEXT การกำหนดคุณลักษณะเสร็จสิ้น ระบบจะบอกว่าเราได้กำหนดอะไรไว้มั่งครับ อ่านพอใจแล้ว Finish ตอน นี้เราได้ Partition ใหม่ขึ้นมา 1 Partition แล้วครับ แต่เนื่องจากว่า ตอนที่เรากำหนดขนาดนั้น เราไม่ได้กำหนดทั้งหมด จึงยังมีเนื้อที่เหลืออยู่จำนวนนึง ในส่วนที่เป็นที่ว่างมันก็จะกลายเป็นสีเขียวครับ คราวนี้เราจะมา จัดการกับเนื้อที่ๆเหลือครับ โดยคลิกขวาที่บริเวณรูปเนื้อที่ๆเหลือเขียวๆนั้นครับ แล้วเลือกดังภาพ จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนเดิมทั้งหมดครับ เราก็ทำแบบคล้ายๆแบบเดิมไปครับ ไม่ยากอะไรแล้วครับ ตอนนี้เราก็สามารถแบ่งเจ้า Partition เดิมออกมาเป็น 2 Partitions ได้แล้วครับ โดยไม่ต้องพึ่งเจ้าโปรแกรม Partition Magic เลยสักนิด หรือ หากว่าเราต้องการต้องการที่ Format ไดรว์ไหนๆ เราก็แค่คลิกขวาที่ชื่อไดรว์นั้นๆในกรอบด้านบน แล้วเลือก Format ครับ มันก็จะขึ้นไดอะล็อคขึ้นมาดังภาพครับ เราก็สามารถตั้งชื่อไดรว์เราได้ใหม่ หรือ Format ไปเป็นระบบอื่นได้ครับ ส่วนลูกศรตัวล่างนั้น เอาไว้ Quick Format ครับ จะได้ไวๆ แล้วก็ทำตามขั้นตอนไปครับ มาดูที่ My Computer ก็จะเห็นว่ามีไดรว์เพิ่มขึ้นจริงๆ แถมระหว่างที่ทำ เราไม่ต้องรีสตาร์ทเครื่องด้วย เสร็จแล้วใช้ได้เลย อัน นี้สำหรับบางคนที่รู้สึกว่า เมื่อสร้าง Partition ใหม่ขึ้นมาแล้ว มันได้ Label ที่ดูเป็นอัปมงคลไปหน่อย แล้วต้องการที่เปลี่ยนมัน ก็สามารถแก้ได้โดย คลิ๊กขวาตรงบริเวณส่วนของไดรว์ที่ต้องการแก้ชื่อในกรอบด้านล่าง แล้วเลือกตามภาพ จากนั้นเลือก Change และเลือก Label ที่ดูเป็นมงคลกว่าอันเดิมครับ แล้ว OK ครับ มัน จะเตือนอย่างนี้ บอกว่าการเปลี่ยนชื่อเราอาจจะทำให้ Shortcuts ต่างๆไม่สามารถอ้างอิงตำแน่งที่โปรแกรมอยู่ได้ และอาจส่งผลให้บางโปรแกรมไม่สามารถรันได้ ก็ไม่เป็นไรครับ เราค่อยมาลบ Shortcuts อันเก่าทิ้ง แล้วสร้าง Shortcuts อันใหม่มาแทนก็หายแล้วครับ ตอนนี้ก็ Yes ไปครับ อันนี้ ผลที่ได้ครับ มาดูที่ My Computer ก็พบว่าเริ่มเป็นมงคลกับชีวิตขึ้นมาหน่อยแล้ว จบละครับ | |
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
9.2 การสร้างพาร์ติชั่นในฮาร์ดดิสก์โดยไม่ใช้โปรแกรม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น