วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

9.1 การจัดเตรียมฮาร์ดดิสก์

การจัดเตรียมฮาร์ดดิสก์

การเตรียมความพร้อมของฮาร์ดดิสก์นั้น โดยหลักแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. การแบ่งหรือการจัดสรรพาร์ติชั่น
2. การจัดเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างระบบไฟล์หรือการฟอร์แมต
โดยหลักจากการฮาร์ดดิสก์ได้ผ่านขั้นตอนทั้งสองนี้แล้วก็สามารถนำไปติดตั้ง
ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมถึงนำไปจัดเก็บข้อมูลได้ในทันที
พาร์ติชั่น (Partition) คือ เนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์ที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบทั่วเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างระบบ ไฟล์หรือที่เรียกว่าการฟอร์แมตระดับสูงในพื้นที่แต่แต่ละส่วนให้เป็นอิสระ จากกันได้
ประเภทของพาร์ติชั่นที่จะใช้แบ่งมีอยู่ 2 ประเภท 

1. Primary Partition เป็นพาร์ติชั่นหลักที่ใช้สำหรับติดตั้งและบู๊ตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ ซึ่งโดยมากมักจะหมายถึงไดรว์ C หรือไดรว์ที่มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการเอาไว้ โดยในฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งๆจะมีพาร์ติชั่นประเภท Primary ได้สูงสุงเพียงไม่เกิน 3 พาร์ติชั่นเท่านั้น โดยพาร์ติชั่นที่ใช้บู๊ตเข้าระบบปฏิบัติการจะต้องถูกกำหนดให้อยู่ในสถานะ Active

2. Extended Partition เป็นพาร์ติชั่นเสริมหรือส่วนขยายเพิ่มเติมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ข้อจำกัดเดิมๆของพาร์ติชั่นประเภท Primary ที่ในฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งๆจะสามารถมีได้สูงสุดไม่เกิน 4 พาร์ติชั่น


ข้อดี และข้อเสียของการแบ่งพาร์ติชั่น

ข้อดี
1. ช่วยให้เราสามารถสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ยังพาร์ติชั่นอื่นได้ เผื่อว่าเวลาระบบ Windows มีปัญหาหนักจนถึงขั้นต้องฟอร์แมตพาร์ติชั่นที่ Windowsไว้แล้วลงใหม่ก็จะได้ไม่มี ผลกระทบใดๆหรือไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลในพาร์ติชั่นอื่นจะสูญหายไป

2. เพื่อความสะดวกและเรียบร้อยในการจัดเก็บหรือแยกแยะประเภทของข้อมูลต่างๆให้เป็นสัดเป็นส่วน
3. เพื่อความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลและจำกัดพื้นความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล และจำกัดพื้นที่ในการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆเพื่อดูแลรักษาเครื่อง เช่น การใช้โปรแกรม Antivirus ในการสแกนหาไวรัสในแต่ละพาร์ติชั่นที่สงสัยและการจัดเรียงข้อมูล (Defrag) ทีละพาร์ติชั่นเป็นต้น
4. ช่วยให้เราสามารถติดตั้งหลายๆระบบปฏิบัติการในฮาร์ดดิสก์ลูกเดียว

ข้อเสีย
1. หากกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นไว้เล็กเกินไปอาจทำให้มีปัญหาในกานทำงานร่วมกับ ไฟล์งานของโปรแกรมบางตัวที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไฟล์วิดี เป็นต้น
2. หากแบ่งพาร์ติชั่นไว้จำนวนมากอาจทำให้สับสนได้ง่าย
3. ผู้ใช้ควรศึกษาให้เข้าใจถึงทฤษฎีและหลักการในเบื้องต้นเสียก่อน จึงจะสามารถลงมือแบ่งพาร์ติชั่นไดอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่น ข้อแนะนำในเรื่องของการกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ใช้ระบบไฟล์แบบ FAT32 ว่าไม่ควรมีขนาดเกินกว่า 32 GB (หรือถ้าจะกำหนดให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ก็สามารถทำได้ แต่ขนาดของคลัสเตอร์ก็จะใหญ่ตามขึ้นไปด้วย ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลนั้นลดลง ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงแนะนำให้ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS แทน) เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น